สารหล่อลื่น ถือ เป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่มีบทบาทและมีความสำคัญมากในเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรมีการทำงาน ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะเกิดการเสียดสีกัน เมื่อนานไปอาจทำให้เกิดการสึกหรอและเสียหายได้ ด้วยเหตุนี้ สารหล่อลื่นจึงได้ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อลดการเสียดสีของชิ้นส่วนเหล่านี้นั้นเอง ดังนั้น มาทำความเข้าใจกับสารหล่อลื่นชนิดต่างๆ ทั้งน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ น้ำมันเกียร์ น้ำมันไฮดรอลิก และจาระบี ในเรื่องของวิธีการเลือกใช้สารหล่อลื่นให้เหมาะสมกับเครื่องจักร เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น
1. น้ำมันเครื่องยนต์
หน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์โดยทั่วๆไป ที่เรารู้จัก จะมีการหล่อลื่นชิ้นส่วน ลดแรงเสียดทาน ลดการสึกหรอ การป้องกันการเกิดสนิม ระบายความร้อน หรือเป็นซีนเพื่อป้องกันการรั่วระหว่าง ลูกสูบ หรือ แหวน ที่ลูกค้าทราบกันดี สำหรับท่านที่จะไปเลือกซื้อหรือเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสมกับรถสิ่งแรกที่ควรต้องรู้คือ
1. เบอร์ความหนืด (SAE)
2.เบอร์คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง (API)
ซึ่งโดยทั่วไปองค์ประกอบของน้ำมันเครื่องจะมีอยู่ 2 สิ่ง คือ 1. น้ำมันพื้นฐานหรือ น้ำมันปิโตรเลียม 2. สารเพิ่มคุณภาพ ที่จะปรุงแต่งน้ำมัน เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเครื่องจักร เบอร์ความหนืด (SAE) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
เบอร์ความหนืด (SAE) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. แบบเกรดเดี่ยว มีค่าความหนืด เพียงค่าเดียว เช่น SAE-30, SAE-40 ซึ่ง น้ำมันเกรดเดี่ยวจะมีความข้นสูงและมีความต้านทานการไหลเวียนเมื่ออุณหภูมิปกติ และความหนืดจะลดลงเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับเครื่องยนต์สมัยใหม่
2. แบบเกรดรวม จะมี 2 ค่า คือ ค่าความหนืดเมื่อเครื่องยนต์อุณหภูมิปกติ และค่าความหนืดเมื่อเครื่องยนต์ทำงานเต็มที่ เช่น SAE15W-40 ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอุณหภูมิปกติหรืออุณหภูมิสูง ก็สามารถไหลเวียนได้ดี จึงเหมาะสำหรับใช้ในเครื่องจักรกลหนัก
เบอร์คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง (API)
เบอร์คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง (API) เป็นหน่วยวัดค่าคุณสมบัติของน้ำมันซึ่งผู้กำหนดมาตรฐานจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นให้เหมาะสม ตามสภาพของการใช้งาน ซึ่งในทุกถังน้ำมันจะมี API ปรากฏอยู่ จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ ขึ้นต้นด้วย ตัว S น้ำมันเครื่องที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และ C น้ำมันเครื่องที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ดังนั้นลูกค้าควรตรวจสอบให้ดีก่อนการเลือกซื้อ และควรใช้ตามที่ผู้ผลิตเครื่องยนต์แนะนำเพื่อป้องกันการผิดพลาด
ในปัจจุบันการเลือกใช้น้ำมันสำหรับเครื่องจักรกลหนัก จะมีการใช้ CI-4 เป็นส่วนใหญ่ และเมื่อลูกค้าได้ทำการเลือกซื้อผลิภัณฑ์สารหล่อลื่นมาแล้ว หนึ่งสิ่งที่ต้องรู้คือ เครื่องจักรของลูกค้ามีการเปลี่ยนถ่ายอยู่ที่กี่ชั่วโมงต่อรอบ เพราะน้ำมันแต่ละยี่ห้อจะมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน อย่าลืม !! เวลาซื้อ 2 สิ่งที่ต้องเน้น คือ เบอร์ความหนืด กับเบอร์คุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง (API)
2. น้ำมันเกียร์
หน้าที่หลักๆ คือ ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนเฟืองเกียร์ เพื่อลดการสึกหรอ หรือระบายความร้อน ในน้ำมันเกียร์จะมีเบอร์ความหนืดที่สูงกว่าน้ำมันเครื่อง เพราะชุดเฟืองทด ในเครื่องจักรกลหนัก จะมีแรงบิดที่สูงกว่า เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกใช้เบอร์ที่มีความหนืดที่สูงกว่าเครื่องยนต์ เบอร์ความหนืดของน้ำมันเกียร์ จะแบ่งออกไป 2 ประเภท คือ 1. แบบเกรดเดี่ยว และ 2. แบบเกรดรวม คล้ายกับน้ำมันเครื่อง สำหรับรถ Kobelco แนะนำให้ใช้ทั้ง 2 เกรด ซึ่งในส่วนของมอเตอร์สวิง จะแนะนำให้ใช้เกรดรวม เพราะมอเตอร์สวิงมีความเร็วต่อรอบที่สูง เพราะฉะนั้น เวลาทำงานจะทำให้น้ำมันเกิดฟองเร็ว ดังนั้น มอเตอร์สวิงแนะนำให้ใช้ SAE80W-90 ในส่วนของมอเตอร์ตัวเดิน เราแนะนำให้ใช้ เบอร์เกรดเดี่ยว นั่นคือ SAE-90 เพราะว่า มอเตอร์ตัวเดินหมุนช้า จึงเหมาะสมกับเบอร์เกรดเดี่ยวมากกว่า
3. น้ำมันไฮดรอลิก
หน้าที่หลักที่สำคัญ คือตัวน้ำมันจะเป็นตัวส่งถ่ายพลังงานจากปั๊ม สู่อุปกรณ์ในตัวเครื่องจักร ซึ่งจะต้องไม่สามารถอัดตัวได้หรือยุบตัวได้ของน้ำมัน ช่วยป้องกันการกัดกร่อน และช่วยระบายความร้อน ซึ่ง คุณสมบัติที่ดีของน้ำมันไฮดรอลิก จะต้องทนต่อการเกิดออกซิเดชั่น หรือการกัดกร่อนที่ดี และทนต่ออุณหภูมิที่สูง อีกทั้งยังมีสเถียรภาพที่ทนต่อการปนเปื้อนของน้ำ เพราะฉะนั้น
สิ่งที่สำคัญเมื่อ เลือกซื้อน้ำมันไฮดรอลิก เพื่อมาใช้กับเครื่องจักรกลหนัก 2 สิ่งที่สำคัญ คือ
1.เกรดความหนืด (ISO) เช่น ISO46 , ISO68 ซึ่งตัวนี้เป็นเบอร์บ่งบอกความหนืดของน้ำมันไฮกรอลิก
2.ชนิดหรือประเภทของน้ำมันไฮดรอลิก ตัวอักษรที่ขึ้นต้นด้วยตัว H เช่น HH น้ำมันไฮดรอลิกพื้นฐาน ที่ไม่มีสารเพิ่มคุณภาพใดๆเข้ามา HL, HM, HG
ซึ่งทางบริษัทอริยะ ได้จัดเตรียมน้ำมันไฮดรอลิกที่มีคุณภาพ ให้กับคุณลูกค้าได้เลือกใช้ ภายใต้แบรนด์ AE Super Hydraulic S2+ ซึ่งเราได้ร่วมมือกับ Shell ในการพัฒนา เพื่อมาใช้กับเครื่องจักรกลหนัก สำหรับรถขุด Kobelco ซึ่งจะมี เกรดความหนืดอยู่ที่ ISO68 และมาตรฐานอยู่ในระดับ HM ซึ่งน้ำมันของเรามีสเถียรภาพต่อความร้อนที่ดี ทนต่อการเสื่อมสภาพ ป้องกันการสึกหรอที่ดี ทุกช่วงการทำงาน และทุกช่วงอุณภูมิ
4. จาระบี
จารบีเราใช้หล่อลื่นกับชิ้นส่วนเครื่องจักรทุกประเภท จารบี เป็นสารกึ่งแข็ง ซึ่งส่วนประกอบของจารบี มี 3 ส่วน 1. น้ำมันพื้นฐาน 2. สารเพิ่มคุณภาพ 3. สารอุ้มน้ำมัน สารเพิ่มคุณภาพ จะมีตั้งแต่ สารป้องกันการเกิด Oxidation หรือสารป้องกันการกัดกร่อนของผิวโลหะ สารป้องกันสนิม สารรับแรงกดสูง สารขับน้ำ สารเกาะเหนียวยึดติด เพราะจารบี ของเราเมื่อเอาไปผสมสารอุ้มน้ำมัน จะพบเห็นมาก ในเรื่องของสบู่ เช่น สบู่ลิเธียมโซเดียม สบู่ลิเทียมคอมเพล็กซ์ ซึ่งสบู่จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการทนอุณภูมิในแต่ละช่วงอุณหภูมิได้ด้วย
การเลือกจารบีจะมีการเลือกความแข็งและความอ่อนซึ่งจะมีเบอร์เข้ามากำกับด้วย เริ่มตั้งแต่ 000 – 5 ( 000 คืออ่อนที่สุด 5 คือแข็งสุด) ในบ้านเรา ช่วงเบอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือเบอร์ 2 -3 ความแตกต่างกันคือ เบอร์ 2 จะมีความแข็งที่น้อยกว่าเบอร์ 3 และจะทนอุณหภูมิที่น้อยกว่าเบอร์ 3 ในกรณีบ้านเรา เป็นเมืองร้อน จะแนะนำให้ใช้เบอร์ 3 เพราะทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้มากกว่า ข้อสำคัญสำหรับการเลือกซื้อจารบี คือ
อุณหภูมิในการทำงาน
รอบการทำงาน ในที่นี้หมายถึง รอบการทำงานของอุปกรณ์ที่เรานำจารบีไปหล่อลื่น ซึ่งในแต่ละรอบ ก็จะใช้ต่างกัน
สภาวะน้ำหนัก คือ น้ำหนักที่มากดทับกดอัดเวลาเรานำเอาจารบีไปหล่อลื่น
การทนน้ำ เพราะจารบี ส่วนมากหล่อลื่นภายนอก ไม่มีอะไรปิดกั้น จะสัมผัสกับน้ำได้ง่าย